Chibi Hulk

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

-ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน(ง 3.1 ม.2/24)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

-ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วยระบบปฎิบัติการ โปรแกรมแปลภาษา และโปรแกรมอรรถประโยชน์
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประกอบด้วยซอฟต์ประยุกต์ทั่วไป และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
-ใช้ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน เช่น บีบอัด ขยาย โอนย้ายข้อมูล ตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์       -ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน ฯลฯ

....ยินดีต้อนรับครับ....

ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

      ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การพิมพ์รายงาน ตกแต่งภาพ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการด้วยคอมพิวเตอร์นี้ จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรมได้ ดังนั้นการศึกษาเกกี่ยวกับซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญต่อการทำงานด้วนคอมพิวเตอร์

1.ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์

   ซอฟต์แวร์(software)หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่คอยสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ ซอฟต์แวร์มีความหมายที่มีความหมายกว้างขวางมากบางครั้งอาจรวมถึงผลต่างๆ

2.ประเภทของซอฟต์แวร์

  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์
  1)ซอฟต์แวร์ระบบ(system software) คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับระบบหน้าที่การทำงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันทีที่มีการจ่ายไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมแรกที่จะทำงานคือซอฟต์แวร์ระบบ
   2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆออกจำหน่ายมากมาย อ่านเพิ่มเติม

3.ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน

  3.1ระบบปฎิบัติการ(Operating System:OS)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีฑียู หน่วยความจำ ไปจนถึงหน่วยนำเข้าและส่งออก
อ่านเพิ่มเติม
          หน้าที่ของระบบปฎิบัติการ มีดังนี้
          1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
          2.การจัดตารางงาน
          3.การติดตามผลของระบบ
          4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
          5.การจัดแบ่งเวลา
          6.การประมวณผลหลายชุดพร้อมกัน
ตัวอย่างระบบปฎิบัติการที่สำคํญควรรู้ มีดังนี้
          ระบบปฎิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
          ระบบปฎิบัติการซิมเบียน
  3.2โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์(Translator) การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์นั้น จะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะงานและความถนัด ของผู้เขียนโปรแกรม โปรแกรมที่เขียนขึ้นหรือที่เรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ จึงมีลักษณะโครงสร้างของภาษาที่แตกต่างกันออกไป อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
  3.3 โปรแกรมอรรถประโยชน์(utility program/software)ป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย อ่านเพิ่มเติม

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน

      ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
  4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
      ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น 
4.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
      ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific surpose) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ  ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรือพัฒนาโดยฝ่ายบุคากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ 


...ขอบคุณที่รับชมนะครับ...